รู้จักระบบระบายน้ำฝนบนหลังคา

สิ่งสำคัญที่สุดที่จำเป็นในการระบายน้ำฝนออกจากอาคารคือ การเลือกใช้ระบบระบายน้ำฝนที่ติดตั้งอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ระบบระบายน้ำฝนบนหลังคาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. ระบบระบายน้ำฝนแบบดั้งเดิม (Gravity System)

Gravity System หรือระบบระบายน้ำฝนตามธรรมชาติโดยใช้แรงโน้มถ่วงของโลก ข้อเสียอย่างหนึ่งของระบบระบายน้ำฝนนี้คือ ระบายน้ำได้น้อยไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากระบบจะดูดอากาศลงไปท่อจำนวนมาก น้ำจะไหลวนเกาะขอบท่อลงไปได้เพียง 33% ของพื้นที่ภายในท่อ ทำให้ต้องใช้ท่อขนาดใหญ่และปริมาณมาก

2. ระบบระบายน้ำฝนแบบ Siphonic (JAS Siphonic)

ระบบไซโฟนิค (Siphonic) คือระบบระบายน้ำฝนที่สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็วกว่า เมื่อเทียบกับระบบกราวิตี้ (Gravity) (ตามตารางเปรียบเทียบ) ความแตกต่างของระบบระบายน้ำฝนแบบไซโฟนิค (Siphonic)กับระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้ (Gravity) ประการแรกคือ ตะแกรงหัวระบายน้ำฝนแบบไซโฟนิค (Siphonic) ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อ ป้องกันการเกิดน้ำวน โดยป้องกันอากาศเข้าไปในระบบท่อ ประการที่สอง ท่อระบายน้ำฝนจะถูกออกแบบอย่างละเอียด เพื่อให้ระบบทำงานแบบไซโฟนิค (Siphonic) โดยการ Balance ความเร็ว แรงดันติดลบ และอัตราการระบายน้ำ ช่วยให้น้ำสามารถไหลออกได้เร็วขึ้น ทำให้ระบบทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเรามีสินค้า และบริการออกแบบระบบระบายน้ำฝนไซโฟนิค (Siphonic) ดังนี้

เปรียบเทียบระบบแบบดั้งเดิมกับระบบ JAS Siphonic

รายการ

ระบบแบบดั้งเดิม

ระบบ JAS Siphonic

ระบบ

เมื่อน้ำไหลลงไปในท่อจะไหลวนเกาะขอบท่อและพาอากาศลงไปด้วย ทำให้ระบายน้ำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

JAS Siphonic สามารถป้องกันอากาศลงไปในท่อ น้ำจึงไหลลงไปแบบเต็มท่อ เกิดความดันแบบติดลบ ทำให้ระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะการไหล

น้ำที่ไหลลงท่อเพียง 1/3 ของพื้นที่หน้าตัดท่อ

น้ำไหลเต็มท่อ 100%

ความสามารถในการระบายน้ำ
(ท่อ 75 มม. ความสูงในการคำนวณ 5 ม.)

ไหลตามแรงโน้มถ่วง

1.65 ลิตร/วินาที 
(หัวระบายน้ำแบบเดิม)

เร็วกว่าแรงโน้มถ่วง 10 เท่า

16.5 ลิตร/วินาที
(1 หัวระบายน้ำ JAS/1 ท่อ)

ขนาดท่อ

ขนาดใหญ่

ขนาดเล็ก

การออกแบบ

มีข้อจำกัด

มีอิสระในการออกแบบ

ท่อใต้ดิน

จำนวนมาก

น้อย

จำนวนของ Manhole

จำนวนมาก

น้อย

ขนาดรางน้ำฝน

ขนาดใหญ่

ขนาดเล็ก

ความสามารถในการนำน้ำไปเก็บที่แท็งค์เก็บน้ำ

ไม่สามารถทำได้
(ต้องใช้ปั๊ม)

สามารถทำได้
(ไม่ต้องใช้ปั๊ม)

ราคา

สูง (ในโครงการขนาดใหญ่)

ลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่า 60%