ระบายน้ำฝน JAS SIPHONIC เป็นระบบที่ตอบโจทย์ต่อความต้องการของโครงการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุน ความสวยงาม และประสิทธิภาพ หรือรวมไปถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ระบบระบายน้ำฝนแบบเก่าไม่สามารถทำได้
       วันนี้เรานำเอาปัญหาต่างๆที่แต่ละโครงการพบเจอ แล้วระบบระบายน้ำฝน JAS SIPHONIC สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหาให้ได้

CASE STUDY 1 : รวบท่อน้ำฝนลงที่ริมอาคาร ท่อแนวนอนไม่ต้องทำ Slope

โครงการศูนย์กระจายสินค้า ความยาว 240 เมตร พื้นที่หลังคา 32,450 ตารางเมตร ค่าความเข้มน้ำฝนที่ ออกแบบ 200 มม./ชม. ระบายน้ำฝน 1,800 ลิตร/วินาที

        ความต้องการของโครงการนี้ คือ รวบท่อน้ำฝนลงที่ริมอาคาร เพราะศูนย์กระจายสินค้านี้ มีรถบรรทุกเข้าออก เพื่อโหลดสินค้ารอบอาคารตลอดเวลา การที่มีท่อน้ำฝนลงบริเวณที่โหลดสินค้า ทำให้กีดขวางทางเข้าออกของรถบรรทุก และอาจเกิดความเสียหายจากการถอยรถบรรทุกชนท่อน้ำฝนได้
        ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic ช่วยรวบท่อระบายน้ำฝนไปลงที่มุมอาคาร โดยที่ท่อแนวนอนไม่ต้องทำ Slope ไม่สูญเสียพื้นที่ใช้สอยด้านล่าง ใช้จุดลงท่อเพียง 4 จุด และช่วยลดจำนวนบ่อ Manhole ลดงาน Site Drainage ได้อีกด้วย ในขณะที่ระบบระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ไม่สามารถทำได้

สิ่งที่ได้จากการใช้ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic

   ออกแบบได้อย่างอิสระ ตรงตามความต้องการของโครงการ
   เดินท่อแนวนอนได้ยาวโดยไม่ต้องทำ Slope
   ไม่เสียพื้นที่ใช้สอยด้านล่าง
   ลดจำนวนหัวระบายน้ำฝน
   ลดจำนวนบ่อ Manhole
   ลดงาน Site Drainage

CASe STUDY 2 : ออกแบบได้อย่างอิสระ ไม่มีท่อลงกลางอาคาร

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ ที่มีรางน้ำฝนอยู่กลางอาคาร ด้วยพื้นที่หลังคาขนาดใหญ่ จึงต้องระบายน้ำฝน
ปริมาณมาก

        ข้อจำกัดของระบบระบายน้ำฝนแบบกราวิตี้ คือ ระบายน้ำได้น้อย จำเป็นต้องมีท่อลงกลางอาคาร และต้องมีบ่อ
Manhole ในอาคารเพื่อรองรับการระบายน้ำฝน ทำให้มีงานระบบ Site Drainage เพิ่มขึ้นตามมาด้วย

        แต่ในขณะที่ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic สามารถรวบหัวระบายน้ำฝนกลางอาคารทั้งหมด ไปลงที่จุดระบายน้ำฝนนอกอาคารได้ ทำให้ไม่มีท่อน้ำฝนลงกลางอาคาร ไม่ต้องทำ Site Drainage ในอาคาร ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขังมีขยะสะสม ทำให้มีทั้งหนู แมลงสาบ และกลิ่นเหม็นที่อาจเป็นปัญหากวนใจในอนาคต

สิ่งที่ได้จากการใช้ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic

   ลดจำนวนท่อ Riser
   ลดจำนวนบ่อ Manhole
   ลดงาน Site Drainage
   ท่อแนวนอนไม่ต้องทำ Slope ไม่เสียพื้นที่ใช้สอยด้านล่าง
   ไม่มี Site Drainage ในอาคาร

CASE STUDY 3 : นำน้ำฝนไปเก็บที่ Tank หรือบ่อเก็บน้ำ เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์

โครงการนี้เป็นโรงงานที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และมีหลายอาคารอยู่ในบริเวณเดียวกัน ต้องการเก็บน้ำฝนไว้ ในบ่อเก็บน้ำ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ภายในโรงงาน

        ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic สามารถนำน้ำฝนจากหลังคา ประมาณ 2,300 ลิตรต่อวินาที ส่งไปยังบ่อเก็บน้ำของโครงการได้ โดยที่ท่อใต้ดินยาวกว่า 300 เมตร ไม่ต้องทำ Slope และไม่ต้องใช้ปั๊มช่วยส่งน้ำ เพราะระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic เป็นระบบที่ระบายน้ำด้วยความเร็วสูง มีแรงส่งน้ำไปที่ปลายท่อ

สิ่งที่ได้จากการใช้ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic

   นำน้ำฝนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในระยะยาว
   เดินท่อส่งน้ำใต้ดิน โดยไม่ต้องทำ Slope ไม่ต้องขุดดินลึกเพื่อฝังท่อ
   ไม่ต้องทำ Manhole รอบอาคาร เพราะท่อน้ำฝนส่งตรงไปที่บ่อเก็บน้ำ
   ส่งน้ำฝนไปที่บ่อเก็บน้ำได้โดยไม่ต้องติดตั้งปั๊มส่งน้ำ

 

CASE STUDY 4 : ท่อขนาดเล็กกว่าระบบกราวิตี้ถึง 40% ใช้ปริมาณท่อลดลง 37%

โรงงานที่จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่หลังคา 21,600 ตารางเมตร ค่าความเข้มฝนที่ใช้ออกแบบ 250 mm/hr ระบายน้ำฝน 1,500 ลิตร/วินาที

          เดิมออกแบบเป็นระบบระบายน้ำฝนกราวิตี้
        ใช้หัวระบายน้ำฝน 10” จำนวน 38 หัว ท่อขนาด 10” จำนวน 38 เส้น 760 เมตร

          เมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบระบายน้ำฝน JAS SIPHONIC
        ใช้หัวระบายน้ำฝน 6” เพียง 24 หัว ท่อขนาด 6” จำนวน 24 เส้น 480 เมตร ใช้หัวระบายน้ำฝนขนาดเล็กลงและจำนวนหัวลดลง ขนาดท่อเล็กลง ปริมาณท่อลดลง แต่ประสิทธิภาพในการระบายน้ำ เพิ่มขึ้น ระบายเร็วกว่าเดิม แต่ราคาถูกลง

สิ่งที่ได้จากการใช้ระบบระบายน้ำฝน JAS Siphonic

   จำนวนหัวระบายน้ำฝนลดลง 14 หัว ลดลง 37%
   จำนวนท่อระบายน้ำฝนลดลง 14 เส้นปริมาณท่อ ลดลง 37%
   ขนาดท่อเล็กลง จาก 10” เป็น 6” เล็กลงถึง 40%
   ลดจำนวนบ่อ Manhole ลดงาน Site Drainage

 

เราพร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบระบบระบายน้ำฝน Siphonic โดยสามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่
โทร. 02 634 9981-4
E-mail : mutjalin@jas-system.com
: sathani@jas-system.com